วันศุกร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การป้องกันการโดน Hacker เจาะเข้าสู่ระบบ

1. ไม่ควรตั้งรหัสผ่านที่ง่ายเกินไป ง่ายต่อการสุ่มของมิจฉาชีพ เช่น 1234, เบอร์โทรศัพท์
2. ควรมีการใช้ตัวอักษร ผสม กับตัวเลข ในการตั้ง Username และ Password
3. ไม่ควรโชว์อีเมลล์ในประวัติส่วนตัวของตัวเอง
4. ไม่ควรกดลิงค์เว็บแปลกปลอม หรือไฟล์แปลกๆที่ไม่รู้จัก
5. ควรเปลี่ยน password อยู่เสมอ
6. อย่าบอกรายละเอียดกับประวัติของตนเอง ที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์ของเรา
7. จะมีการสุ่มจากกลุ่ม Hacker ว่ามีเว็บไซต์โปรแกรฟรีต่างๆ หรือโปรแกรมใหม่ ห้ามกดรับเด็ดขาด
เพราะบางครั้งจะนำไวรัสต่างๆ เข้ามาสู่คอมพิวเตอร์โดยไม่รู้ตัว

ไวรัส คือ โปรแกรมชนิดหนึ่งที่ถูกสร้างขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ก่อกวน ทำให้เกิดความเสียหาย เช่นทำลายข้อมูล ไม่สามารถเปิดใช้งานได้ หรือทำความเสียหายให้แก่คอมพิวเตอร์ที่ใช้งานอยู่ หรือไวรัสผ่านมาทางอีเมลล์
ประเภทของไวรัส
มีประเภทก่อกวน และ ประเภททำลาย
แบ่งได้อีก ดังนี้
บูตเซกเตอร์ คือ ที่แพร่เข้าสู่เป้าหมายในระหว่างเริ่มทำการบูตเครื่อง ส่วนมากจะติดเข้าสู่โดยแผ่นดิสก์ หรือระหว่างกำลังส่งปิดเครื่อง
ไฟล์ไวรัส เช่นโปรแกรมที่ดาวน์โหลดจากอินเทอร็เน็ต นามสกุล .exe
มาโครไวรัส คือ ไวรัสที่ติดไฟล์เอกสารต่างๆ เช่น MS.Word , MS.Excell เป็นต้น
โทรจัน คือ โปรแกรมที่ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อแอบแฝง เพื่อจะกระทำการบางอย่างในเครื่อง โทรจันนั้นจะถูกแนบมากับอีการ์ด อีเมลล์ หรือโปรแกรมดาวน์โหลดทางอินเทอร์เน็ต และสามรถเข้ามาในเครื่องของเรา โดยที่เราไม่รู้ตัวว่ารับมันมาและยังเป็นการเปิดช่องทางให้ผู้ไม่หวังดีเข้ามาเครื่องของเราได้
หนอน มีความสามารถในการทำลายระบบในเครื่องคอมพิวเตอร์ กระจายตัวรวดเร็วผ่านทางอินเทอร์เน็ต

การแพร่กระจายของไวรัสคอมพิวเตอร์ มี 2 ลักษณะ ดังนี้
1. นำแผ่นดิสก์ที่มีไวรัสมาใช้งาน จะทำให้ไวรัสไปอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์
2. ไว้รัสสามารถแพร่กระจายไปตามระบบสื่อสารของคอมพิวเตอร์ เช่น Lan, Modem เป็นต้น

อาการของคอมพิวเตอร์ที่ติดไวรัส ได้แก่
1. มักจะมีหน้าต่างโฆษณาขึ้นมาบ่อยๆ
2. มีโปรแกรมบางอย่างที่อยู่ในเครื่อง โดยที่ไม่ได้ติดตั้ง และไม่สามารถลบออกได้
3. เครื่องรีสตาร์ทเอง หรือเครื่องค้างบ่อยๆ
4. ปรากฏหน้าโฮมเพจแปลกๆ ที่ไม่ได้ตั้งค่าไว้
5. ขณะที่กำลังเปิดหน้าเว็บไซต์ที่ต้องการอยู่ จะมีหน้าต่างเว็บไซต์อื่นปรากฏมา
6. ความเร็วของอินเทอร์เน็ตช้าลง
7. เครื่องทำงานได้ช้าลง
8. มีเมลล์ขยะ หรือบุคคลที่ไม่รู้จักมากผิดปกติ
9. เปิดไฟล์ข้อมูลบางอย่างไม่ได้
10. เครื่องบางเครื่องที่ติดตั้งเครื่องปริ้นท์เตอร์ และไม่สามารถสั่งพิมพ์ได้ เครื่องปริ้นท์เตอร์ไม่ทำงาน
11. มีแถบเครื่องมือ เมนูต่างๆ หน้าตาแปลกๆ ปรากฏหน้าจอ ทั้งที่ไม่ได้ติดตั้ง
12. มีไอคอน short cut ที่ไม่รู้จัก อยู่บนหน้าจอ desktop ทั้งที่ไม่ได้ติดตั้งโปรแกรมดังกล่าว

โปรแกรมป้องกันไวรัส มี 2 แบบ
1. แอนติไวรัส เป็นโปรแกรมที่ป้องกันไวรัสทั่วๆ ไป จะค้นหาและทำลายไวรัสในเครื่องคอมพิวเตอร์
2. แอนติสปายแวร์ เป็นโปรแกรมที่ป้องกันการโจรกรรมข้อมูล จากไวรัสสปายแวร์ และจากHacker

วิธีการป้องกันไวรัส
1. ติดตั้งโปรแกรมกำจัดไวรัสและตรวจสอบบ่อยๆ
2. ปรับปรุง หรืออัพเดทโปรแกรมกำจัดไวรัสบ่อยๆ
3. ปรับปรุงหรืออัพเดท ระบบปฏิบัติการ Window เป็นต้น
4. ปรับปรุงหรืออัพเดทโปรแกรม Browser เช่น Internet Explorer เป็นต้น
5. ตรวจสอบแผ่นดิสก์ แผ่นซีดี USB หรือ External จากการใช้งานร่วมกับผู้อื่น
6. สังเกตความผิดปกติของเครื่องที่ใช้งานในแต่ละวัน
7. ไม่ควร Copy โปรแกรมจากภายนอก




รูปแบบการโจมตีรูปแบบต่างๆ

Hacker หมายถึง บุคคลที่มีความสามารถเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และใช้ความสามารถนั้นในทางที่ดี เช่นหาช่องโหว่และกระทำการแจ้งเตือนให้ผู้ผลิตทราบเพื่อเป็นการป้องกันแก้ไขต่อไป
Cracker หมายถึง คล้ายกับ Hacker แต่ต่างกันที่เจตนาของการนำความรู้ไปใช้ Cracker นั้นจะนำความรู้ไปใช้ในด้านของการโจมตีระบบหรือสร้างความเสียหายให้บุคคลอื่น
รูปแบบการโจมตี ได้แก่
Social Engineering การโจมตีแบบนี้มีความอันตรายสูง โดยผู้โจมตีไม่จำเป็นต้องมีความรู้ความชำนาญเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เพียงแต่มีจิตวิทยาในการพูดและการแสดงออกระดับหนึ่งก็จะสามารถทำการโจมตีได้แล้ว การโจมตีในลักษณะนี้ ได้แก่
1. การหลอกถามเอาซึ่งหน้า การปลอมตัวเป็นผู้หวังดีต้องการจะช่วยเหลือระบบ เช่น แจ้งว่ามีช่องโหว่ มีการบุกรุกเข้าไปในระบบและขอการเข้าถึงเพื่อช่วยเหลือ
2. การค้นหาเอกสารต่างๆ รวมถึงการคุยถึงขยะเพื่อหาข้อมูล
การป้องกันวิธนี้ คือ ต้องเน้นไปที่การฝึกอบรบบุคลากรเป็นหลัก ให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องของ Social Engineering เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของการโจมตีแบบรู้เท่าไม่ถึงการณ์

การเดารหัสผ่าน วิธีนี้ผู้โจมตีมักจะใช้เป็นอันดับแรกก่อนใช้วิธีอื่นๆ ที่เจาะระบบเข้าไป เป็นการเดา โดยส่วนมากระบบที่ตกเป็นเหยื่อ ก็คือ ระบบที่มีการใช้รหัสผ่านที่ไม่ปลอดภัย เช่น
การใช้รหัสผ่านที่เป็นคำที่คนทั่วไปรู้อยู่แล้ว เช่น 11111111, 12345678
การใช้เบอร์โทรศัพท์เป็นรหัสผ่าน เช่น 028888888, 0815555555
การใช้ชื่อ หรือ นามสกุลของตนเองมาตั้งเป็นรหัสผ่าน
การใช้สิ่งแวดล้อม มาทำเป็นรหัสผ่าน เช่น ชื่อที่ทำงาน ชื่อเพื่อน ชื่อแฟน ชื่อโรงเรียน เป็นต้น
Username เป็นตัวเดียวกับรหัสผ่าน
การป้องกันการโจมตีแบบเดารหัสผ่าน มีดังนี้
บังคับให้มีวันหมดอายุรหัสผ่าน ทุก ๆ 72 วัน ถ้าหมดอายุแล้วให้เปลี่ยนรหัสผ่านใหม่
การตรวจ ว่า ห้าม Username และ Password เป็นตัวเดียวกัน ถ้าเป็นตัวเดียวกันให้แก้ไขเป็นคนละตัว
ให้มีการผสมระหว่างตัวอักษร และตัวเลขเข้าไปในรหัสผ่าน
การกำหนดความยาวของรหัสผ่าน เช่น อย่างน้อย 8 ตัว

การโจมตีแบบ ปฏิเสธการให้บริการ เป็นการโจมตีระบบรักษาความปลอดภัยที่ไม่แข็งแกร่ง เช่น การทำให้ Web Server ล่มหรือหยุดทำงาน

การถอดรหัสข้อมูล เป็นการพยายามวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์เพื่อหา keyword ในการถอดรหัสข้อมูล

การโจมตีแบบคนกลาง คือ การทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องสื่อสารกันโดยไม่ทราบว่ามีคนกลางเปลี่ยนแปลงข้อมูล

การโจมตีผ่านเครือข่าย ได้แก่
สนิฟเฟอร์ เป็นชื่อเครื่องหมายทางการค้าของระบบตรวจจับแพ็กเก็ตเพื่อนำมาวิเคราะห์และตรวจหาปัญหาในเครือข่าย ตัวระบบจะประกอบด้วย คอมพิวเตอร์ที่มีการ์ดเครือข่ายสมรรถนะสูงและซอฟต์แวร์ตรวจวิเคราะห์แพ็กเก็ต ชื่อสนิฟเฟอร์ในปัจจุบันจึงนิยมใช้เป็นชื่อเรียกของโปรแกรมใดๆ ที่สามารถตรวจจับและวิเคราะห์แพ็กเก็ตได้
ม้าโทรจัน โปรแกรมม้าโทรจันเป็นโปรแกรมที่ลวงให้ผู้ใช้งานเข้าใจผิดว่าเป็นโปรแกรมผิดปกติในระหว่างการใช้งานอยู่ แต่การทำงานจริงกลับเป็นการดักจับข้อมูลเพื่อส่งไปให้ Cracker เช่น โปรแกรมโทรจันที่ลวงว่าเป็นโปรแกรมล็อกอินเข้าสู่ระบบ เมื่อผู้ใช้งานป้อนบัญชีและรหัสผ่านก็จะแอบส่งรหัสผ่านไปให้ Cracker
ประตูกล Cracker ใช้ ประตูลับ (backdoors) ซึ่งเป็นวิธีพิเศษเข้าสู่ระบบโดยไม่ได้รับอนุญาต คือวิธีการที่ผู้พัฒนาโปรแกรมทิ้งรหัสพิเศษหรือเปิดทางเฉพาะไว้ในโปรแกรมโดยไม่ให้ผู้ใช้ล่วงรู้ Cracker ส่วนใหญ่จะมีชุดซอฟต์แวร์ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อเจาะเข้าสู่ระบบตามจุดอ่อนที่มีอยู่ด้วยวิธีการต่างๆ

จารชนอินเทอร์เน็ต ปัจจุบันผู้ใช้อินเทอร์เน็ตนั้นกระจายไปทุกบุคคล ทุกกลุ่ม ซึ่งใครก็ได้สามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้ ความปลอดภัยของข้อมูลนั้น ต้องระมัดระวังมากยิ่งขึ้น เรามักเรียกพวกที่มีความสามารถเจาะเข้าสูระบบคอมพิวเตอร์ ว่า "Hacker" ซึ่งปัจจุบันเรียก Hacker ผิดความหมายจนติดปากไปแล้วทั้งที่จริงแล้ว Cracker ต่างหากที่เข้าข่ายจารชนอิเล็กทรอนิกส์ มีจุดประสงค์ที่ไม่ดี

วันพฤหัสบดีที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ปัญหาด้านความปลอดภัยของการใช้งานโปรแกรมประเภท Social Network

1. ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผู้ใช้ ที่ไม่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศดีพอ
เช่น เริ่มจากการใช้ Email Address เป็นชื่อในการ Login และใช้รัหสผ่านของ Email ที่ใช้อยู่ เช่น Hotmail, Gmail เป็นรหัสผ่านของโปรแกรม Social Network เช่น Facebook ปัญหาที่พบก็คือ หลายคนที่ไม่รู้ความจริงแล้วไม่จำเป็นต้องใช้รหัสผ่านเดียวกัน ระหว่างอีเมลล์ และโปรแกรม Social Network สามารถใช้รหัสผ่านคนละรหัสผ่านได้ ถ้าใช้รหัสผ่านเดียวกัน ก็จะทำให้ถูกเจาะระบบได้ง่าย

2. ปัญหาข้อมูลส่วนตัวรั่วไหลออกไปยังกลุ่มมิจฉาชีพโดยไม่ได้ตั้งใจ
กล่าวคือ หากมีการสมัคร Facebook จากโทรศัพท์มือถือ facebook จะให้มีการ Conferm ด้วยเบอร์โทรศัพท์มือถือของเราที่ใช้อยู่ นั่นก็เท่ากับว่าเราได้บอกเบอร์โทรศัพท์ให้กับ facebook ไปแล้ว เพราะการ สมัคร facebook ทางเครื่อง Notebook หรือ เครื่อง Desktop จะไม่ต้องกรอกข้อมูลโทรศัพท์ ให้กับ facebook และหลายคนนอกจากใส่ข้อมูลเบอร์โทรศัพท์ไปแล้ว ยังใส่วันเดือนปีเกิด เข้าไปในระบบ facebook โดยไม่ระมัดระวัง จึงเป็นเหตุให้มิจฉาชีพสามารถค้นหาเบอร์โทรศัพท์มือถือ ข้อมูลส่วนตัวต่างๆ ได้อย่างง่ายดาย จึงไม่ควรป้อนข้อมูลส่วนตัวให้กับโปรแกรมประเภท Social Network โดยไม่จำเป็น

3. การโจมตีของผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่
ยกตัวอย่าง เช่น ในปัจจุบันจำเป็นต้องมีโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพราะใช้ในการติดต่อสื่อสารในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ โทรเข้า-ออก แล้ว ยังมีการชำระเงิน การโอนเงิน การสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต หรือแม้แต่ใช้แชท พูดคุยกันได้แก่ BB, Messenger, Facebook, Twitter และ web browser เพื่อใช้ในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่างๆ โดยการโจมตีโทรศัพท์เคลื่อนที่นั้น มิจฉาชีพนิยมติดตั้งโปรแกรมประเภท Mobile Spyware บนโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งโปรแกรมดังกล่าวสามารถดักจับข้อมูลเข้า-ออก โทรศัพท์มือถือ เช่น การส่ง SMS และส่ง SMS ออก ยังสามารถดักฟังโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ ถึงแม้ว่าโทรศัพท์ปิดเครื่องอยู่ก็สามารถดักฟังได้ในรูปแบบผู้ใช้งานไม่ทราบ นอกจากนี้โปรแกรม Mobile Spyware ยังมีคุณสมบัติตรวจหาตำแหน่งของผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ด้วยระบบ GPS ว่า เป้าหมายใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่อยู่จุดไหน บริเวณไหน และสำหรับผู้ที่ไม่ได้ตั้งรหัสผ่านการเข้าโทรศัพท์มือถือ หรือ Compute Notebook ก็เสี่ยงอย่างยิ่ง เพราะมิจฉาชีพจะนำโทรศัพท์ต่อกับสายเคเบิ้ลทาง Port USB ของเครื่องแล้วจะติดตั้งโปรแกรม Mobile Spyware บนโทรศัพท์มือถือหรือ Computer Notebook

ตัวอย่างทาง Social Network เช่น www.facebook.com

Facebook เป็นเว็บไซต์เครือข่ายสังคม (Social Network) เปิดตัวในเดือนกุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 2004 ก่อตั้งโดย Mark Zuckerberg ผู้ใช้สามารถเพิ่มคนเป็นเพื่อนและส่งข้อความแลUpdate โปรไฟล์ส่วนตัวเพื่อแจ้งให้พวกเพื่อนๆ ได้ทราบเกี่ยวกับตัวเอง นอกจากนี้ผู้ใช้สามารถเข้าร่วมเครือข่าย Facebook ได้พบกับการถูกบล็อกในหลายประเทศ รวมทั้ง ปากีสถาน ซีเรีย จีน เวียดนามและอิหร่าน Facebook ได้รับการห้อมใช้ในสถานที่ทำงานเพื่อเป็นการไม่ให้พนักงานสูญเสียเวลาในการทำงาน Facebook ความเป็นส่วนตัวยังเป็นปัญหาและได้รับการโจมตีหลายครั้ง ด้วยระยะเวลา 6 ปี เว็บไซต์ในปัจจุบันมีผู้ใช้งานมากกว่า 400 ล้านทั่วโลก จากการเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วของผู้ใช้งาน
การเข้ามาของ www.facebook.com ในประเทศไทยเริ่มเมื่อปี ค.ศ.2006 เริ่มมีการแพร่หลายในกลุ่มของนักศึกษาที่เรียนอยู่ต่างประเทศและเริ่มขยายตัวเข้ามาในกลุ่มนักศึกษาที่มีความรู้ภาษาอังกฤษเท่านั้น เนื่องจากในช่วงนั้น facebook มีเมนูเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น facebook นั้นมีความแตกต่างจาก www.hi5.com คือ มีแอพพลิเคชั่นหลากหลายกว่า เช่น มีเกมส์ให้เล่นหลากหลาย โดยปัจจุบันนิยมเล่นเกมส์ปลูกผัก (Framville) มีการสนทนาส่วนตัว มีการแชทคุยกันได้ มีการจัดตั้งกลุ่มขึ้นมาเพื่อพบปะสังสรรค์กันด้วย
ในปัจจุบัน Facebook เริ่มเข้ามามีอิทธิพลในประเทศไทยมากยิ่งขึ้น จะสังเกตได้จากเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีปัญหาขัดแย้งทางด้านการเมืองกันอย่างรุนแรง Facebook ก็เป็นช่องทางการสื่อสารระดับหนึ่งที่ทำให้คนไทยได้แสดงความคิดเห็นทางด้านการเมืองโดยผ่าน Facebook มีการวิพากษ์วิจารณ์ทางด้านการเมืองกันอย่างมากมาย และยกตัวอย่างเช่น มีกลุ่มประชาชน นักเรียน นักศึกษา และวัยทำงาน ได้รวมกลุ่มต่างๆ เพื่อแสดงออกทางด้านการเมือง เช่น กลุ่มมั่นใจว่าคนไทยเกิน 1 ล้านต่อต้านการยุบสภา เป็นต้น

วันพุธที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2553

10 อันดับ Social Media ยอดนิยมในประเทศไทย (กุมภาพันธ์ 2010)

คือ Social Networking เว็บไซต์หนึ่งที่มีผู้นิยมใช้งานกันมากที่สุดแห่งของโลกเป็นเครื่องมือในการเข้าสังคม ซึ่งเชื่อมต่อผู้คนกับเพื่อน และคนอื่นๆ


เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการแลกเปลี่ยนภาพ วิดีโอระหว่างผู้ใช้ได้ฟรี โดยนำเทคโนโลยีของ Adobe Flash มาใช้ในการแสดงภาพวิดีโอ

เป็นระบบอินเทอร์เน็ตออนไลน์ที่มีการเชิญเพื่อนจากรายชื่อเพื่อนในอีเมลล์ต่างๆ สมัครเข้ามาเป็นเพื่อนของเรา โดยระบบจะทำการแอดเมลล์เพื่อนให้
นอกจากนี้ยังสามารถพบปะผู้คนจากทั่วทุกมุมโลกได้ สามารถค้นหาผู้คนที่อยู่ภูมิลำเนา โรงเรียน หรือมหาวิทยาลัยเดียวกันได้

Blog มาจากคำว่า Webblog "Web" ย่อมาจาก World Wide Web ความหมายคือ อินเทอร์เน็ต +log การจัดเก็บ บันทึก ดังนั้น Web-log คือ การเก็บการจดบันทึกบนโลกอินเทอร์เน็ต เป็น Personal Website ประเภทหนึ่ง แต่ในปัจจุบันได้พัฒนามาเป็น ช่องทางการสื่อสารหลาย ๆเรื่อง เช่น ธุรกิจ การค้าขาย การร้องเรียน การประชาสัมพันธ์ เป็นต้น ถ้าใช้โดเมนฟรี URL จะแสดงผลเป็นทำเว็บบล็อก.Blogspot.com แต่ถ้าจดโดเมนเอง จะเป็น ทำเว็บบล็อก.com

คือ สารานุกรมออนไลน์หลายภาษาบนอินเทอร์เน็ต ที่มีลักษณะเนื้อหาเสรี บริหารงานโดยมูลนิธิวิกิมีเดีย ปัจจุบันเป็นเว็บไซต์สารานุกรมออนไลน์ที่ใหญ่และเติบโตเร็วที่สุดในโลก
เป็นเว็บ Upload /Download ไฟล์ยอดนิยม ที่ประเทศไทยใช้กันมาก โดยทาง 4shared นั้นรองรับไฟล์เพลง วิดีโอ รูปภาพ
คือ เว็บฝากไฟล์ขนาดใหญ่ ที่มีประสิทธิภาพสูง ใช้งานง่ายสำหรับทุกคน
คือ บล็อกเพื่ออัพเดทข่าวสาร ประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆ


www.bloggang.com
เป็นเว็บบล็อก หมายถึง เว็บไซต์ส่วนตัว ที่ผู้สร้างหรือที่เรียกว่า blogger จัดทำขึ้นเพื่อเป็นที่บอกเล่าเรื่องราวสิ่งต่าง ๆที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน รวมทั้งแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เสนอบทความใหม่ ๆ นอกจากนั้นยังเปิดให้ผู้เยี่ยมชมได้สามารถแสดงความคิดเห็นต่างๆที่ได้ตั้งขึ้นอีกด้วย
มีส่วนหลัก ๆอยู่ 5 ส่วน
1. Content ส่วนของเนื้อหาของบล็อก แสดงเป็นข้อความ รูปภาพต่างๆที่เจ้าของบล็อกสร้างขึ้น
2. Profile แสดงข้อมูลส่วนตัวของเจ้าของ Blog
3.Friend's Blog เพิ่ม Link เว็บบล็อกของเพื่อนไว้ใน Blog ของตัวเองอัตโนมัติ
4. Link สำหรับใส่ Link เว็บที่เราสนใจ และอยากให้เพื่อคนอื่นๆรู้จัก
5. Comment ส่วนแสดงความคิดเห็น

คือ เว็บไซต์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการพัฒนาเครือข่าย ของสังคมบนโลกอินเทอร็เน็ต โดยที่ให้สิทธิ์ผู้ใช้แต่ละคนในการแบ่งปัน เช่น รูปภาพ วิดีโอ







วันอังคารที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ความหมายของ Social Networking (สังคมเครือข่ายออนไลน์)



คือ ระบบเครือข่ายบนโลกออนไลน์หรือการติดต่อสื่อสารถึงกันผ่านอินเทอร์เน็ตผู้คนสามารถรู้จักกันทำความรู้จักกันสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารต่างๆสังคมเครือข่ายออนไลน์(Social Networking)ก็คือเว็บไซต์ที่เชื่อมโยงผู้คนไว้ด้วยกันโดยเว็บไซต์เหล่านี้มีพื้นที่ให้ผู้คนเข้ามารู้จักกันมีการใช้พื้นที่บริการเครื่องมือต่างเพื่ออำนวยความสะดวกในการสร้างเครือข่ายสร้างเนื้อหาความสนใจของผู้ใช้ปัจจุบันเว็บไซต์ประเภทSocial NetworK เกิดขึ้นเป็นจำนวนมากทั้งที่มีเป้าหมายเชิงพาณิชย์และไม่แสวงหากำไร

Social Networking (สังคมเครือข่ายออนไลน์)



ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนในการดำเนินชีวิตประจำวันของเราอย่างมากมายทั้งภาพเสียงข้อความและการสื่อสารข้อมูลต่างๆซึ่งเข้ามาอำนวยความสะดวกให้เรามากมายและส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของเรามีทั้งสื่อโฆษณาต่างๆผ่านระบบการสื่อสารอย่างมากมาย เช่นโทรศัพท์มือถือเว็บไซต์ต่างๆ
ซึ่งปัจจุบันนี้มีระบบSocialMediaเข้ามาอำนวยความสะดวกให้เราได้ติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกับเพื่อนฝูงหรือคนอื่นๆได้อย่างกว้างขวางSocial Networkนั้นกำลังได้รับความนิยมอย่างมากทั้งในฐานะผู้ใช้ทั่วไปและองค์กรธุรกิจ เพราะเป็นสังคมออนไลน์ที่เปิดโอกาสให้เข้าไปใช้เผยแพร่ข้อมูลส่วนตัวบทความรูปภาพผลงานแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความสนใจร่วมกัน และกิจกรรมอื่นๆ